ติดต่อเรา

Email:icothai@gmail.com

Tel0819511100

           ^ กดเบอร์โทรข้างบนเพื่อติดต่อได้เลยคะ 

Line : 0819511100

Office Hours

  • Monday - Friday 
  • 8.30 A.M. to 5.00 P.M.
  • Saturday - Sunday Closed
 ติดต่อสอบถาม

ชื่อ :
นามสกุล :
บัตรประชาชนเลขที่ :
ที่อยู่ :
อำเภอ :
จังหวัด :
รหัสไปรษณีย์ :
มือถือ :
อีเมล์ :
Line ID :
Facebook ID / Name :
เรื่องที่สอบถาม :
 
 

 
 
 
 
 
LINE ID : 0819511100





คดีฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉล





ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า เป็นการดำเนินคดีเพื่อให้ทรัพย์สินกลับคืนสู่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามเดิม เนื่องจากลูกหนี้ได้ทำนิติกรรม ก่อให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ

 

หลักเกณฑ์การเพิกถอนการฉ้อฉล

1 ต้องมีหนี้กันอยู่ก่อนแล้ว แต่ยังไม่ถึงขนาดต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา

2 ลูกหนี้ทำนิติกรรมจำหน่าย จ่าย โอน ภายหลัง

3 นิติกรรม เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้

4 นิติกรรม ทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ กล่าวคือ ทรัพย์สินที่เหลืออยู่ของลูกหนี้ไม่เพียงพอจะชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้

5 ลูกหนี้ต้องรู้ว่า นิติกรรมดังกล่าวทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ

6 บุคคลภายนอกผู้รับนิติกรรม โดยเสียค่าตอบแทน ต้องรู้ถึงข้อความจริงอันทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ

7 แต่ถ้าเป็นการให้โดยเสน่หา ก็ขอเพิกถอนได้แล้ว

8 ฟ้องทั้งลูกหนี้และผู้รับนิติกรรม

 

ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกา ที่น่าสนใจ

ประเด็น ไม่ได้บรรยายคำฟ้องว่าเป็นหนี้ตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14094/2555

โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 โอนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรโดยเสน่หา อันเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของ จ. เสียเปรียบ กรณีจึงต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 237 แล้ว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่าหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 กับ จ. ซึ่งเป็นสามีภริยากันตามที่ได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1490 (1) ถึง (4) อันจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวร่วมกับ จ. ซึ่งจะมีผลให้จำเลยที่ 1 อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้อยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้โจทก์ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินตามฟ้องระหว่างจำเลยทั้งสองได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้างศาลก็มีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)

 

ประเด็น ทำนิติกรรมก่อนเป็นหนี้ ไม่สามารถเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 533/2535

ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 3 โอนให้แก่ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรชายโดยไม่มีค่าตอบแทนและเป็นการฉ้อฉลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 แต่ตามคำร้องมิได้บรรยายว่าลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้รายใดเสียเปรียบ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า จึงต้องถือว่าผู้ร้องขอให้เพิกถอนการโอนซึ่งจะทำให้โจทก์เสียเปรียบรายเดียวเท่านั้น และการร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าวจะต้องได้ความว่าลูกหนี้ต้องเป็นหนี้เจ้าหนี้อยู่ก่อน หรือขณะที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมอันจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 3 เพิ่งเป็นหนี้โจทก์หลังจากได้จดทะเบียนโอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้คัดค้านไปแล้วถึง 3 ปี ขณะที่จำเลยที่ 3 โอนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้น โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 3 ผู้ร้องไม่มีสิทธิจะร้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้

 

ประเด็น ไม่ถึงขนาดต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของศาลก็ใช้สิทธิเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3975/2553

การฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้ เพราะทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นหลักประกันในการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 214 ดังนั้น เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิร้องขอให้ศาลเพิกถอนการฉ้อฉลจึงหมายถึงเจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้และต้องเสียเปรียบจากการที่ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้อันเนื่องมาจากการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้ดังกล่าวจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ก็ตาม แม้เจ้าหนี้ในหนี้ที่ยังไม่ได้มีการฟ้องร้องบังคับให้ชำระหนี้ก็มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนได้เมื่อโจทก์แจ้งความดำเนินคดีอาญาและฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ย่อมทราบว่าตกเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยเสน่หา และไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะให้โจทก์บังคับคดีได้อีกนอกจากที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ย่อมรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เจ้าหนี้เสียเปรียบ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซึ่งเป็นการฉ้อฉลนั้นเสียได้

 

ประเด็น เจ้าของที่ดินลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ ถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2552

โจทก์กู้ยืมเงินจากจำเลยที่ 1 และมอบหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) หนังสือสำคัญที่ดินพิพาท หนังสือมอบอำนาจให้จดทะเบียนโอนของ ค. เจ้าของที่ดินเดิมและลงชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยที่ยังไม่กรอกข้อความให้ไว้แก่จำเลยที่ 1 เป็นประกันหนี้กู้ยืมต่อมาจำเลยที่ 1 ปลอมหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวด้วยการกรอกข้อความโดยไม่ได้รับความยินยอมและฝ่าฝืนคำสั่งของโจทก์โอนขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้บุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจว่าจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนของโจทก์ในที่ดินพิพาททั้งการที่โจทก์ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจโดยไม่กรอกข้อความถือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์ไม่อาจยกเอาความผิดของตนดังกล่าวมาปฏิเสธความผิดต่อจำเลยที่ 2 ซึ่งรับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริต

 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง


มาตรา 237 เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ ซึ่งนิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หาก กรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียว เท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้

บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมีให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สิน


มาตรา 238 การเพิกถอนดังกล่าวมาในบทมาตราก่อนนั้น ไม่อาจกระทบกระทั่งถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันได้มาโดยสุจริตก่อนเริ่มฟ้องคดีขอเพิกถอน

อนึ่ง ความที่กล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าสิทธินั้นได้มาโดยเสน่หา


มาตรา 239 การเพิกถอนนั้นย่อมได้เป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้หมดทุกคน


มาตรา 240 การเรียกร้องขอเพิกถอนนั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้องร้อง เมื่อพ้นปีหนึ่ง นับแต่เวลาที่เจ้าหนี้ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้น 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมนั้น

 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า

1 คำขอท้ายฟ้อง ให้เพิกถอนนิติกรรม โดยให้จำเลยเป็นผู้เสียค่าธรรมเนียม หากจำเลยไม่ปฏิบัติ ให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดงเจตนาของจำเลย

2 กรณีผู้รับโอนที่ดิน นำที่ดินไปจำนอง เคยมีคำพิพากษาศาลฎีกาบังคับให้ผู้รับโอนนิติกรรมไถ่ถอนจำนองก่อน จากนั้นจึงจะสามารถจดทะเบียนโอนคืน

3 หากมีการฟ้องคดีแล้ว ลูกหนี้ยังไปโอนทรัพย์สินอื่นอีก มีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ซึ่งมีโทษทางอาญา

4 การยื่นคำฟ้องขอเพิกถอนการฉ้อฉล เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ถือเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ค่าขึ้นศาลเรื่องละ 200 บาท


Tag: ทนายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน,  สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่เก่งๆ, ปรึกษาทนายเชียงใหม่,  ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ทนายความเชียงใหม่ช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายเชียงใหม่ความมุ่งมั่น, ทนายความเชียงใหม่คลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่มุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่คลายทุกข์


#สำนักงานทนายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #สภาทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่


Share on Facebook

ปรึกษาฟรี!! มุ่งมั่นช่วยเหลือแก่ทุกท่าน แบบมิตรภาพ โดยทีมทนายความวิถีพุทธ

ดร.เกียรติศักดิ์ เนติบัณฑิตย์ไทย ทนายวิถีพุทธ และทีมทนายความเชียงใหม่ ติดต่อโทร 081-951-1100

 
เว็บสำเร็จรูป
×