ติดต่อเรา

Email:icothai@gmail.com

Tel0819511100

           ^ กดเบอร์โทรข้างบนเพื่อติดต่อได้เลยคะ 

Line : 0819511100

Office Hours

  • Monday - Friday 
  • 8.30 A.M. to 5.00 P.M.
  • Saturday - Sunday Closed
 ติดต่อสอบถาม

ชื่อ :
นามสกุล :
บัตรประชาชนเลขที่ :
ที่อยู่ :
อำเภอ :
จังหวัด :
รหัสไปรษณีย์ :
มือถือ :
อีเมล์ :
Line ID :
Facebook ID / Name :
เรื่องที่สอบถาม :
 
 

 
 
 
 
 
LINE ID : 0819511100




คดีเรียกบุตรคืน

 

เด็กที่เกิดจากหญิง ซึ่งมิได้มีการจดทะเบียนสมรสกับชาย กฎหมายให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิง จึงต้องอยู่ในอำนาจปกครองของมารดาแต่เพียงผู้เดียว ถึงแม้ชายจะยินยอมให้บุตรใช้นามสกุล และทะเบียนบ้านระบุว่าเป็นบิดาก็ตาม ก็ไม่ใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งชายจะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายได้ ต้องเป็นกรณีจดทะเบียนสมรสกับมารดาบุตร หรือจดทะเบียนรับรองบุตร หรือ ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร แต่กรณีเป็นเพียงบุตรนอกกฎหมาย ตามกฎหมายให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน บุตรมีเพียงสิทธิที่จะได้รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ของบิดาเท่านั้น  

ดังนั้น เมื่ออำนาจปกครองบุตรอยู่กับมารดาแต่เพียงผู้เดียว หากบิดาไม่ยินยอมคืนบุตร อันถือเป็นการโต้แย้งสิทธิ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า มารดาย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องเรียกบุตรคืนจากบิดาได้   

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฏีกา ที่น่าสนใจ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2543 
โจทก์จำเลยอยู่กินด้วยกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 1546 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น ดังนั้น จึงถือได้ว่าเด็กชาย จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์และมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของจำเลย ดังนั้นอำนาจปกครองเด็กชาย จ. นั้น ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง คือต้องอยู่กับโจทก์ซึ่งเป็นมารดาฝ่ายเดียว เมื่อจำเลยมิได้เป็นบิดาตามความหมายของมาตรา 1566 ดังกล่าว การตกลงระหว่างโจทก์จำเลยที่ให้เด็กชาย จ. อยู่ในความปกครองของจำเลยจึงไม่มีผลผูกพันเป็นเหตุให้จำเลยมีอำนาจปกครองเด็กชาย จ. ตามมาตรา 1566 วรรคสอง (6) จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่ของเด็กชาย จ. ให้อยู่กับตนตามมาตรา 1567 (1) ได้ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยส่งมอบเด็กชาย จ. คืนจากจำเลยตามมาตรา 1567 (4) 

คำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยเป็นเพียงคำให้การแก้ฟ้องของโจทก์ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่สุจริตเท่านั้น ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างมิใช่ข้อเท็จจริงที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นจึงไม่เป็นคำฟ้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ดังนั้น ข้อเท็จจริงส่วนนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นฟ้องแย้ง แม้โจทก์จะไม่ได้แก้ข้อเท็จจริงที่จำเลยได้ให้การไว้ก็ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงนี้ตามที่จำเลยได้ให้การได้ เพราะโจทก์ไม่มีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การแก้คำให้การของจำเลย 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804/2523 
โจทก์ฟ้องเรียกบุตรคืนเมื่อแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าโจทก์จำเลยไม่ได้จดทะเบียนสมรสจำเลยไม่ได้จดทะเบียนว่าเด็กเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรข้อเท็จจริงจึงเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องสืบพยานโจทก์จำเลยต่อไป 

ข้อที่จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองและได้ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนอำนาจปกครองนั้น ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นในคดีที่มีว่าโจทก์มีสิทธิเรียกบุตรคืนจากจำเลยหรือไม่ศาลมีอำนาจงดสืบพยานหลักฐานได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 86 วรรคสอง 

ข้อที่จำเลยฎีกาว่าขณะนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยเป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของบุตรทั้งจำเลยจดทะเบียนว่าเป็นบุตรแล้วโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้ส่งบุตรคืน นั้น จำเลยกล่าวอ้างขึ้นใหม่ในชั้นฎีกามิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 

คำพิพากษาฎีกาที่ 16395/2557 
ผู้เยาว์เป็นบุตรเกิดจากโจทก์ซึ่งเป็นหญิงที่มิได้สมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1546 ให้ถือว่าเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ส่วนจำเลยที่ 1 แม้อ้างว่าเป็นบิดาของผู้เยาว์ แต่เมื่อผู้เยาว์มิได้เกิดจากบิดามารดาที่สมรสกัน การจะอ้างว่าผู้เยาว์เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายก็ต่อเมื่อบิดามารดาสมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้มีลักษณะที่ปรากฏตามความดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงหามีสิทธิใดๆในตัวผู้เยาว์ไม่ ทั้งนี้ตามป.พ.พ. มาตรา 1547 ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์แต่เพียวผู้เดียว เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยทั้งสองดูแลเลี้ยงดูผู้เยาว์ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสองคืนผู้เยาว์แก่โจทก์ได้ ตามป.พ.พ. มาตรา 1567(1)และ(4) ที่โจทก์เป็นผู้กำหนดที่อยู่ของบุตร และเรียกคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบได้ ข้ออ้างของจำเลยทั้งสองที่ว่าดูแลผู้เยาว์ดีกว่าโจทก์ไม่อาจรับฟังได้ เพราะจำเลยทั้งสองไม่มีสิทธิใดๆในตัวผู้เยาว์ไม่อาจอ้างเหตุเหนือสิทธิของโจทก์ผู้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้เยาว์ได้ 

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3461/2541 
บุคคลอื่น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(4) หมายถึง บุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ซึ่งได้แก่ บิดามารดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตร จำเลยมิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของบุตรผู้เยาว์ จำเลยจึงไม่เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองของบุตรผู้เยาว์ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ตามกฎหมายย่อมไม่มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1) ถึง (4) การที่จำเลยกักบุตรผู้เยาว์ไว้จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ผู้เป็นมารดาของผู้เยาว์ย่อมมีสิทธิเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำเลยได้ 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่เกี่ยวข้อง 

มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็น บุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้น 

มาตรา 1567  ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ 
(1) กำหนดที่อยู่ของบุตร 
(2) ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน 
(3) ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป 
(4) เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย 


คำวินิจฉัยที่ ยช.1/40 ฟ้องเรียกบุตรคืนโดยอ้างว่าเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566,1567(1) ตามบรรพ 5 ถือว่าเป็นคดีครอบครัว 

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่  
1 ปัญหาคือชนะคดีแล้ว ไปรับบุตรพร้อมเจ้าหน้าที่บังคดี แต่บุตรไม่ยอมมา เนื่องจากมีความผูกพันกับครอบครัวสามี อย่างนี้เจ้าพนักงานบังคับคดีก็ไม่สามารถบังคับเด็กได้ เพราะคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ หากต้องการพาบุตรมาต้องขอให้ศาลออกหมายเรียกตัวความและเด็กมาสอบถาม 
2 บิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะกำหนดที่อยู่บุตร 
3 การที่บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกับมารดาทำข้อตกลงกันว่าให้บิดาใช้อำนาจปกครองในวันจันทร์ถึงวันศุกร์และให้มารดาใช้อำนาจปกครองบุตรในวันเสาร์อาทิตย์นั้น ข้อตกลงดังกล่าวไม่ผูกพันมารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีกฎหมายให้ตกลงกันเช่นนั้นได้ ต่อมาเมื่อมารดาชอบด้วยกฎหมายประสงค์จะเรียกบุตรคืนจากบิดาไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งถือว่าเป็นผู้อื่นตามความหมายของมาตรา 1567 ที่กักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย มารดาเรียกบุตรคืนได้ 
4 การกำหนดที่อยู่บุตร กล่าวคือ การอนุญาตให้บุตรไปพักอาศัยอยู่กับคนอื่นได้ เช่น ให้ปู่ย่าตายาย ไปเลี้ยง ไปพักอาศัยอยู่ที่บ้าน เป็นต้น 
5 บุคคลอื่น คือ ไม่ใช่บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย  
6 การเรียกบุตรคืน เป็นคดีแพ่ง ต้องใช้สิทธิทางศาลเท่านั้น แต่อาจขอตำรวจไปช่วยไกล่เกลี่ยได้ 
7 หากยังดื้อแพ่ง สามารถจับขังได้ ตามคำสั่งศาล 
8 การใช้สิทธิทางศาล บางกรณีก็อาจจบด้วยความรวดเร็ว แค่ได้รับหมายศาลเท่านั้น 
9 ส่วนกรณีของพ่อแม่ที่ชอบด้วยกฎหมายทั้งสองฝ่ายนั้น ศาลอาจตัดสินให้บุตรอยู่กับบิดาหรือมารดาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเลยก็ได้ หรืออาจให้ใช้อำนาจปกครองร่วมกัน โดยแบ่งเวลาดูแลลูกกันตามสมควร 

 
Tag: ทนายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน,  สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่เก่งๆ, ปรึกษาทนายเชียงใหม่,  ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ทนายความเชียงใหม่ช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายเชียงใหม่ความมุ่งมั่น, ทนายความเชียงใหม่คลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่มุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่คลายทุกข์

#สำนักงานทนายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #สภาทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่

ปรึกษาฟรี!! มุ่งมั่นช่วยเหลือแก่ทุกท่าน แบบมิตรภาพ โดยทีมทนายความวิถีพุทธ

ดร.เกียรติศักดิ์ เนติบัณฑิตย์ไทย ทนายวิถีพุทธ และทีมทนายความเชียงใหม่ ติดต่อโทร 081-951-1100

 
เว็บสำเร็จรูป
×