ติดต่อเรา

Email:icothai@gmail.com

Tel081-951-1100

Line : 0819511100

Office Hours

  • Monday - Friday 
  • 8.30 A.M. to 5.00 P.M.
  • Saturday - Sunday Closed


 ติดต่อสอบถาม

ชื่อ :
นามสกุล :
บัตรประชาชนเลขที่ :
ที่อยู่ :
อำเภอ :
จังหวัด :
รหัสไปรษณีย์ :
มือถือ :
อีเมล์ :
Line ID :
Facebook ID / Name :
เรื่องที่สอบถาม :
 
 
 

 
 
 




การถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติ





คำว่า ชาวต่างชาติตามกฎหมายจะเรียกว่า คนต่างด้าว ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า คนต่างด้าวหมายถึงบุคคลธรรมดาที่มิได้มีสัญชาติไทยและหมายถึงนิติบุคคลซึ่งกฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าว เช่น นิติบุคคลที่คนต่างด้าวเป็นผู้ถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 49 ดังนั้นในการถือครองอสังหาริมทรัพย์จะมีทั้งการถือครองในรูปแบบของบุคคล และ นิติบุคคล โดยสามารถถือครองได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด สำหรับการถือครองอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยถึงแม้ว่าจะเป็นที่นิยมของชาวต่างชาติมากเพียงใด แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้อนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองได้อย่างเสรี โดยมีการออกกฎหมายขึ้นมาเพื่อจำกัดสิทธิการถือครอง  การถือครองอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ การถือครองที่ดิน การถือครองอาคารชุด และการเช่าอสังหาริมทรัพย์

        “การถือครองที่ดินในปัจจุบันนี้ชาวต่างชาติไม่สามารถซื้อหรือเป็นเจ้าของที่ดินได้  เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นบางประการ โดยได้มีการเพิ่มเติมในประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96 ทวิ ตั้งแต่วันที่ 19 มกราคม 2545กำหนดให้คนต่างด้าวสามารถซื้อที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยในประเทศไทยได้ไม่เกิน 1 ไร่”  โดยต้องมีเงื่อนไขดังนี้

         1. ต้องนำเงินมาลงทุนในประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาทและต้องดำรงการลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี

         2. ต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

         3. ต้องนำเงินมาลงทุนในธุรกิจหรือกิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง เช่น การซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์

        4. การได้มาซึ่งสิทธิในที่ดินโดยการรับมรดก คนต่างด้าวสามารถรับมรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยชอบธรรมและที่ดินที่รับมรดกเมื่อรวมกับที่ดินที่มีอยู่แล้วจะต้องไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ สิทธิการรับมรดกเมื่อรวมกับที่ดินเดิมแล้วจะต้องไม่เกินสิทธิจะพึงมีได้

        5. การซื้อผ่านคู่สมรสชาวไทย เงินที่บุคคลสัญชาติไทยนำมาซื้อที่ดินทั้งหมดเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคลของคนสัญชาติไทยแต่เพียงผู้เดียว มิใช่สินสมรสหรือทรัพย์ที่หามาได้ร่วมกัน

        6. การถือครองของนิติบุคคลต่างด้าว ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนแล้วที่มีหุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียน รวมถึงห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือห้างหุ้นส่วนสามัญ, สมาคม  รวมทั้งสหกรณ์ที่มีสมาชิก และมูลนิธิ ซึ่งมีการถือโดยคนต่างด้าวเกินกว่า 49% ของทุนจดทะเบียน หรือผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งจำนวน

        ในส่วนของ การถือครองอาคารชุดของคนต่างด้าวนั้น ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าอาคารชุดหรือคอนโดมิเนียมนับว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากกฎหมายของประเทศไทยเปิดโอกาสให้ชาวต่างชาติสามารถมีกรรมสิทธิ์ได้ แต่มีการกำหนดกรรมสิทธิ์ให้ถือครองได้ในจำนวนจำกัด หมายความว่า คนต่างชาติสามารถถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดแต่ละแห่งได้ไม่เกิน 49% ของพื้นที่ทั้งหมดในอาคารชุดนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น อาคารชุดมีห้องชุด 100 ห้อง แต่ละห้องชุดมีเนื้อที่ 100 ตารางเมตร รวมพื้นที่ห้องชุดทั้งหมด 10,000 ตารางเมตร ชาวต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้เท่ากับ 4,900 ตารางเมตร โดยไม่คำนึงถึงราคาของห้องชุด แต่เนื่องจากความต้องการห้องชุดของชาวต่างชาติโดยเฉพาะในทำเลใจกลางเมือง และเมืองท่องเที่ยวมีสูงมากจนเกินอุปทานที่มีอยู่ในตลาด ทำให้ชาวต่างชาติยอมที่จะจ่ายเงินซื้อในรูปแบบของการเช่าระยะยาว

          ต่อไปในส่วนของ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ของคนต่างด้าว โดยทั่วไปคนต่างชาติสามารถเช่าอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ ซึ่งการเช่าก็เป็นที่นิยมมากในหมู่ของคนต่างชาติที่ต้องการที่พักอาศัยในประเทศไทยเนื่องจากเป็นวิธีที่สะดวกไม่มีกฎเกณฑ์อะไรมากนัก โดยการเช่าอสังหาริมทรัพย์แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ การเช่าอสังหาริมทรัพย์ของคนต่างด้าวโดยการจดทะเบียนเช่าระยะสั้น การเช่าระยะสั้นคือการเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี การเช่าในรูปแบบนี้เป็นการเช่าที่ไม่ต้องมีการจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มีเพียงสัญญาเช่าระหว่าง ผู้เช่าและ ผู้ให้เช่าเท่านั้น และการเช่าอสังหาริมทรัพย์ของคนต่างด้าวโดยการจดทะเบียนเช่าระยะยาว คือการเช่าที่มีกำหนดมากกว่า 3 ปีเป็นต้นไป โดยการเช่าระยะยาวนอกเหนือจากสัญญาเช่าแล้วจะต้องไป จดทะเบียนการเช่าณ สำนักงานที่ดินที่อสังหาริมทรัพย์นั้นตั้งอยู่ด้วย โดยตามกฎหมายกำหนดระยะเวลาไว้ว่าสามารถเช่าได้ไม่เกิน 30 ปี และเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงสามารถต่อสัญญาได้อีกไม่เกิน 30 ปีนับแต่วันต่อสัญญา

          การอนุญาตให้ชาวต่างชาติเข้ามาถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ เป็นวิธีหนึ่งในการที่รัฐบาลส่งเสริมการลงทุน ในประเทศไทยแต่เดิมการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติเป็นไปได้ยากมากเนื่องจากมีข้อกฎหมายกำหนดไว้เพื่อป้องกันการกว้านซื้อเพื่อเก็งกำไรของชาวต่างชาติ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าต่อมามีการเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายให้ชาวต่างชาติสามารถถือครองอาคารชุด และสามารถเช่าอสังหาริมทรัพย์ในระยะยาวได้เพื่อส่งเสริมและจูงใจให้ต่างชาตินำเอามาลงทุนในบ้านเรา ซึ่งปัจจุบันก็ได้มีชาวต่างชาติเข้ามาจับจองอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก การถือครองอสังหาริมทรัพย์เป็นเรื่องใกล้ตัวเราจึงควรมีความรู้เกี่ยวกับการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติเอาไว้


Tag: ทนายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน, สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่เก่งๆ, ปรึกษาทนายเชียงใหม่, ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ทนายความเชียงใหม่ช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายเชียงใหม่ความมุ่งมั่น, ทนายความเชียงใหม่คลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่มุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่คลายทุกข์ 


#สำนักงานทนายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #สภาทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่



Share on Facebook

Sidebar    Mozrank check tool
https://www.ultimatewebtraffic.com
ultimatewebtraffic com
1minutereview org/

ปรึกษาฟรี!! มุ่งมั่นช่วยเหลือแก่ทุกท่าน แบบมิตรภาพ โดยทีมทนายความวิถีพุทธ

ดร.เกียรติศักดิ์ เนติบัณฑิตย์ไทย ทนายวิถีพุทธ และทีมทนายความเชียงใหม่ ติดต่อโทร 081-951-1100

 
เว็บสำเร็จรูป
×