ติดต่อเรา

Email:icothai@gmail.com

Tel0819511100

           ^ กดเบอร์โทรข้างบนเพื่อติดต่อได้เลยคะ 

Line : 0819511100

Office Hours

  • Monday - Friday 
  • 8.30 A.M. to 5.00 P.M.
  • Saturday - Sunday Closed
 ติดต่อสอบถาม

ชื่อ :
นามสกุล :
บัตรประชาชนเลขที่ :
ที่อยู่ :
อำเภอ :
จังหวัด :
รหัสไปรษณีย์ :
มือถือ :
อีเมล์ :
Line ID :
Facebook ID / Name :
เรื่องที่สอบถาม :
 
 

 
 
 
 
 
LINE ID : 0819511100





คดีเช็ค


ปัจจุบันในการประกอบธุรกิจการค้า การชำระหนี้เนื่องจากการประกอบกิจการดังกล่าวมักใช้วิธีชำระด้วยเช็คจะลงวันที่สั่งจ่าย หรือไม่ลงวันที่สั่งจ่ายไว้ก็ตาม เมื่อผู้ที่ครอบครองเช็ค(ผู้ทรงเช็ค) นำไปขึ้นเงินแล้วถูกธนาคารปฏิเสธการชำระเงินตามเช็คนั้น(เช็คเด้ง) ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ผู้ที่ครอบครองเช็คก็ต้องมาดำเนินการตามกฎหมายเอากับผู้สั่งจ่ายเช็ค กรณีที่เช็คเด้งแล้วเป็นความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ซึ่งมีโทษจำคุกนั้นมีหลักเกณฑ์ดังนี้ 


มาตรา 4 ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตาม กฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

     (1) เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น 

     (2) ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ 

     (3) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น 

     (4) ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้ 

     (5) ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต 

 

เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้นผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ

 

สำหรับหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายนั้นก็หมายความว่าต้องเป็น หนี้กันจริงๆ และหนี้นั้นก็ต้องบังคับได้ตามกฎหมาย ถ้าไม่เป็นหนี้กันจริงๆหรือหนี้นั้นตามกฎหมายไม่สามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ก็ไม่เป็นความผิดทางอาญา

 

"จ่ายเช็คเด้งนอกจากมีสิทธิติดคุกแล้ว ยังจะต้องรับผิดในทางแพ่งด้วย"

ธนาคารต้องใช้เงินตามเช็ค ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ผู้เคยค้ากับธนาคาร(แบงค์อื่น)ได้ออกเบิกเงินแก่ตน เว้นแต่

1. ไม่มีเงินในบัญชีพอจะจ่ายเงินตามเช็ดนั้น

2. ยื่นเช็คให้เงินเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันออกเช็ค

3. มีคำบอกกล่าวว่าเช็คหายหรือถูกลักไป

กรณีหนี้ที่ตามกฎหมายไม่สามารถบังคับได้ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่าก็มี เป็นต้นว่า 

- หนี้ที่เกิดจากการพนัน หรือ หนี้จากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ถือว่าเป็นนิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ย่อมเป็นโมฆะ

- หนี้ที่เกิดจากการกู้ยืมเงิน แต่ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นหนังสือ(รวมทั้งกรณีสั่งจ่ายเช็คแลกเงินสด)

-กรณีออกเช็คฉบับใหม่ แลกฉบับเดิมที่ถูกธนาคารปฏิเสธการสั่งจ่าย ผู้สั่งจ่ายไม่มีความผิดทางอาญา (คำพิพากษาฏีกาที่ 3809/2530)

-ออกเช็คเพื่อชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่คิดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ถือว่าไม่มีมูลหนี้ (คำพิพากษาฏีกาที่ 364/2518)     

"ฟ้องคดีเช็คไม่ลงวันที่" กรณีที่สั่งจ่ายเช็คโดยไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายไว้ ผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายกระทำการโดยสุจริตชอบที่จะลงวันออกเช็คตามที่ถูกต้องแท้จริงลงในเช็คได้ ตามมาตรา 901 ประกอบมาตรา 989 ภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ปรากฎในเช็ค(คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1214/2547, 9539/2544) แต่ก็ไม่สามารถฟ้องเป็นคดีอาญาได้ คงต้องไปฟ้องร้องในทางคดีแพ่งต่างหาก

 

ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า ส่วนการออกเช็คเพื่อชำระหนี้แทนบุคคลอื่น ผู้สั่งจ่ายย่อมมีความผิดทางอาญา (คำพิพากษาฏีกาที่ 1130/2542)

 

ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า สำหรับการร้องทุกข์หรือฟ้องร้องดำเนินคดีนั้นก็ต้องทำภายในกำหนดอายุความกล่าวคือ สำหรับในคดีอาญานั้นต้องดำเนินการภายในกำหนด 3 เดือนนับจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค(วันที่เช็คเด้ง)

 

คำพิพากษาศาลฏีกาที่ 920/2550

ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า กฎหมายอาญาไม่ได้บัญญัติถึงวิธีการกำหนดนับระยะเวลาอายุความคดีอาญาไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น การนับระยะเวลาอายุความคดีอาญาจึงอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งกำหนดมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวมเข้าด้วยกัน จึงเริ่มนับอายุความในวันรุ่งขึ้น คดีนี้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คฉบับแรก เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2539 การนับอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2539 และจะครบกำหนด 3 เดือน วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 ซึ่งเป็นวันครบกำหนดอายุความวันสุดท้าย คดีโจทก์ตามเช็คฉบับแรกจึงไม่ขาดอายุความ แต่อย่างไรก็ตามความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯเป็นความผิดที่สามารถยอมความได้จึงสามารถเจรจายอมความกันได้ก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด กล่าวคือ แม้ศาลชั้นต้นตัดสินไปแล้วแต่ถ้ายังอุทธรณ์ฎีกาอยู่ก็ยังสามารถยอมความกันได้ นอกจากนี้ถ้าจำเลยนำเงินมาชำระหนี้ครบถ้วน หรือหนี้ตามเช็คนั้นสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ถือว่าคดีเป็นอันเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3) (คำพิพากษาฏีกาที่ 5865/2534) ก็ไม่ต้องติดคุก

 

ส่วนในคดีแพ่งนั้นก็ต้องฟ้องร้องภายในอายุความ ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอดังต่อไปนี้

1. ฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน ผู้ออกสัญญาใช้เงิน มีกำหนด 3 ปีนับแต่วันตั๋วถึงกำหนด (ปพพ.มาตรา 1001) 

2. ฟ้องผู้สลักหลังและผู้สั่งจ่าย มีกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่ตั๋วเงินถึงกำหนด (ปพพ.มาตรา 1002)

3. ฟ้องไล่เบี้ยกันเอง และฟ้องไล่เบี้ยผู้สั่งจ่าย มีกำหนด 6 เดือน (ปพพ.มาตรา 1003)

 

ทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ ขอเรียนว่า บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900 "บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อม จะต้องรับผิดตามเนื้อความ ในตั๋วเงินนั้น ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงไดหรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้าง เอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไซร้ แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็น ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่" 

   

ข้อแนะนำเพิ่มเติมจากทีมทนายเชียงใหม่ และสำนักงานกฎหมายเชียงใหม่

1. คดีเช็ค โดยทั่วไปแล้วทนายความมักจะฟ้องทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา

2. ต้องฟ้องภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค(วันที่เช็คเด้ง) หากเกิน 3 เดือน ไม่ฟ้องร้อง ไม่แจ้งความ คดีอาญาขาดอายุความ แต่ยังเหลือคดีแพ่ง(ฟ้องตามความผิดข้อหาตั๋วเงิน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900)

3. ต้องฟ้องร้องภายใน 1 ปี ถ้าเกิน 1 ปีแล้ว ยังไม่ทำอะไรอีก พ้น 1 ปีแล้วคดีขาดอายุความ ฟ้องร้องไม่ได้ กลายเป็นว่าหนี้สินที่มี ต่อกันหายหมด(แต่สามารถฟ้องตามมูลหนี้แท้จริง เช่น สัญญาซื้อขายอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น

4. ต้องดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อสถานีตำรวจที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน คือ ธนาคารเจ้าของบัญชีเช็คฉบับนั้น ไม่ใช่ธนาคารที่ไปขึ้นเงิน

5. ในการแจ้งความร้องทุกข์ต้องมีการสอบสวนผู้เสียหายและออกหมายเลขคดี โดยในการสอบสวนหรือคำร้องทุกข์นั้นผู้เสียหายจะต้องยืนยันว่ามาร้องทุกข์เพื่อมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ

6. กรณีบริษัทเป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค คดีอาญาสามารถฟ้องได้ทั้งบริษัทเองและตัวกรรมการผู้จัดการ ส่วนคดีแพ่งฟ้องได้เฉพาะบริษัท


Tag: ทนายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน,  สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่เก่งๆ, ปรึกษาทนายเชียงใหม่,  ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ทนายความเชียงใหม่ช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายเชียงใหม่ความมุ่งมั่น, ทนายความเชียงใหม่คลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่มุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่คลายทุกข์


#สำนักงานทนายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #สภาทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่

 





Share on Facebook

ปรึกษาฟรี!! มุ่งมั่นช่วยเหลือแก่ทุกท่าน แบบมิตรภาพ โดยทีมทนายความวิถีพุทธ

ดร.เกียรติศักดิ์ เนติบัณฑิตย์ไทย ทนายวิถีพุทธ และทีมทนายความเชียงใหม่ ติดต่อโทร 081-951-1100

 
เว็บสำเร็จรูป
×