

บริการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด / ห้างหุ้นส่วน
หลายๆคนคงคิดหรือใฝ่ฝันอยากมีธุรกิจหรือกิจการเป็นของตนเอง เนื่องจากการมีกิจการเป็นของตนเองนั้นทำให้เราสามารถเป็นนายของตนเองได้โดยไม่ต้องทำตามคำสั่งของใครหรือสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระ แต่การที่เราจะเริ่มทำธุรกิจอะไรขึ้นมาสักอย่างนั้น อันดับแรกคงต้องศึกษาเกี่ยวกับความชอบหรือความถนัดก่อน และเมื่อเรารู้แล้วว่าเราชอบหรือถนัดอะไรก็ต้องเริ่มที่จะลงมือทำไปทีละขั้นทีละตอน
การจะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจนั้นประกอบไปด้วยปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น ความรู้ความสามารถอย่างลึกซึ้งในกิจการหรือธุรกิจที่เราจะทำ เงินทุน ความอดทนและความพยายาม นอกจากนี้แล้ว การวางแผนเกี่ยวกับรูปแบบขององค์กรธุรกิจที่ดีและมีความเหมาะสมก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เราประสบความสำเร็จได้รวดเร็วขึ้น ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มต้นทำธุรกิจ ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรว่าธุรกิจแบบใดจะมีความเหมาะสมกับธุรกิจของท่านมากที่สุด
>> การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด |
ส่วนหลายๆท่านที่ดำเนินการจดทะเบียนนิติบุคคลแบบห้างหุ้นส่วนจำกัดไปแล้ว แต่มีรู้สึกว่าอยากจะปรับเปลี่ยนรูปแบบขององค์กรไปเป็นบริษัทเพราะมีความน่าเชื่อถือและภาพลักษณ์ที่ดีกว่า ในขณะนี้สามารถที่จะทำได้แล้ว เนื่องจากมีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย หุ้นส่วนบริษัท พ.ศ. 2551 ซึ่งเปิดช่องให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนและห้างหุ้นส่วนจำกัด สามารถแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด ได้ สำหรับหลายๆท่านที่กำลังจะเริ่มทำธุรกิจ ถ้าหากว่าท่านตัดสินใจอย่างแน่วแน่แล้วที่จะดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ บริษัทจำกัด ซึ่งจะขออธิบายขั้นตอนและวิธีการดำเนินการคร่าวๆดังนี้ คือ การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด : สำหรับองค์กรธุรกิจในประเทศไทยที่ได้รับความนิยมในการจัดตั้ง คือ “บริษัทจำกัด” เนื่องจากเป็นรูปแบบองค์กรที่มีภาพลักษณ์ที่น่าเชื่อถือและมีความมั่นคงด้านเงินลงทุนมากกว่า คณะบุคคล หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้เอง ที่จะมีส่วนช่วยให้ประสบความสำเร็จในการเจรจาทางธุรกิจ
ขั้นตอนและวิธีดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด : - ผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไปจัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ
- เข้าชื่อซื้อหุ้น
- ประชุมจัดตั้งบริษัท ตั้งคณะกรรมการของบริษัท
- ผู้เริ่มก่อการมอบกิจการให้แก่กรรมการ
- ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นชำระเงินค่าหุ้นตามที่กรรมการเรียกให้ชำระ
- จัดทำเอกสารประกอบคำขอจดทะเบียน
- ยื่นคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัทจำกัดพร้อมกันภายในหนึ่งวัน
หมายเหตุ: ท่านสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หน้าที่ของบริษัท ภายหลังจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว : ในอันดับต่อไปหากท่านได้ดำเนินการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเรียบร้อยแล้ว บริษัทจำกัด มีหน้าที่ที่จะต้อง กระทำดังต่อไปนี้ 1. ดำเนินการการจดทะเบียนขอมีเลขผู้เสียภาษีกับกรมสรรพากรภายใน 60 วัน นับแต่วันจดจัดตั้งบริษัทเสร็จ 2. จัดทำบัญชีตามกฎหมาย 3. จัดทำงบการเงิน 4. ยื่นแบบแสดงการเสียภาษีเงินได้ หมายเหตุ: ท่านสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ จะเห็นได้ว่าขั้นตอนทั้งก่อนและหลังการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทนั้นค่อนข้างจะมีความซับซ้อนสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นใหม่เพราะจะต้องจัดเตรียมเอกสารที่ค่อนข้างเยอะ ประกอบกับระเบียบวิธีปฏิบัติจำนวนมากในการติดต่อกับทางราชการ ดังนั้นการใช้บริการของสำนักงานกฎหมายที่มีประสบการณ์ในการจดทะเบียนก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการมือใหม่ที่จะช่วยทำให้บริษัทของท่านปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง และยังสะดวกรวดเร็วอีกด้วยและยังสะดวกรวดเร็วอีกด้วย
ถาม-ตอบ : จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด / ห้างหุ้นส่วน 1. ขั้นตอนการจัดตั้งบริษัทจำกัด มีอะไรบ้าง? 2. มูลค่าของหุ้นที่ต่ำที่สุดที่จะลงในบริษัทต้องเป็นเท่าไรคะ? 3. การชำระค่าหุ้นของบริษัทจำเป็นต้องชำระเต็มหรือเปล่าครับ? 4. บริษัทต่างด้าวกับบริษัทไทยมีความแตกต่างกันอย่างไรค่ะ? 5. ดิฉันกำลังจะดำเนินจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยค่ะ โดยจะมีเพื่อนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนด้วย ในกรณีแบบนี้ ดิฉันควรที่จะให้เพื่อนถือหุ้นเท่าไรดีค่ะ บริษัทของดิฉันจึงจะยังคงเป็นบริษัทสัญชาติไทยอยู่? 6. เดิมบริษัทของผมมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่ในปัจจุบันกำลังจะย้ายไปต่างจังหวัด ดังนั้นผมจะต้องไปจดทะเบียนย้ายสำนักงานที่กระทรวงพาณิชย์ที่กรุงเทพฯ หรือที่ต่างจังหวัดครับ? 7. ทราบมาว่ามีการแก้ไขกฏหมายหุ้นส่วนและบริษัทใหม่ ในเรื่อง การเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งเดิม ให้บอกกล่าวนัดประชุมเป็นหนังสือ ส่งให้แก่ผู้ถือหุ้น ไม่ทราบว่าพอจะอธิบายความแตกต่างได้ไหมค่ะ?
ขั้นตอนการจัดตั้งบริษัทจำกัด มีอะไรบ้าง? ต้องมีผู้เริ่มก่อการตั้งแต่ 3 คน ขึ้นไปเข้าชื่อกันทำหนังสือบริคณห์สนธิ และผู้เริ่มก่อการต้องจัดให้หุ้นของบริษัทที่จะตั้งขึ้นนั้นมีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ ต่อมาให้ดำเนินการประชุมตั้งบริษัท และที่ประชุมได้แต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป โดยกรรมการต้องเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้นชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น และเมื่อได้รับค่าหุ้นแล้วกรรมการต้องไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือน ภายหลังจากประชุมจัดตั้งบริษัท มูลค่าของหุ้นที่ต่ำที่สุดที่จะลงในบริษัทต้องเป็นเท่าไรคะ? หุ้นละ 5 บาทค่ะ การชำระค่าหุ้นของบริษัทจำเป็นต้องชำระเต็มหรือเปล่าครับ? การชำระค่าหุ้นของบริษัทไม่จำเป็นต้องชำระเต็มก็ได้ โดยให้ชำระเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ ของทุนจดทะเบียนค่ะ บริษัทต่างด้าวกับบริษัทไทยมีความแตกต่างกันอย่างไรค่ะ? บริษัทต่างด้าวคือบริษัทที่ถือหุ้นโดยคนต่างด้าวมากกว่า49 ขึ้นไป บริษัทสัญชาติไทยคือบริษัทที่อาจจะมีคนต่างด้าวถือหุ้นก็ได้แต่ต้องไม่เกิน 49 เปอร์เซ็นต์ ดิฉันกำลังจะดำเนินจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยค่ะ โดยจะมีเพื่อนชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนด้วย ในกรณีแบบนี้ ดิฉันควรที่จะให้เพื่อนถือหุ้นเท่าไรดีค่ะ บริษัทของดิฉันจึงจะยังคงเป็นบริษัทสัญชาติไทย คุณควรให้เพื่อถือหุ้นมากที่สุด 49 เปอร์เซ็นต์ ค่ะ เพราะถ้าถือหุ้นมากกว่านี้ บริษัทของคุณจะมีสถานะเป็นบริษัทต่างด้าวค่ะ เดิมบริษัทของผมมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ แต่ในปัจจุบันกำลังจะย้ายไปต่างจังหวัด ดังนั้นผมจะต้องไปจดทะเบียนย้ายสำนักงานที่กระทรวงพาณิชย์ที่กรุงเทพฯ หรือที่ต่างจังหวัดครับ? คุณจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งของบริษัทที่กรุงเทพฯให้รียบร้อยก่อนนะคะ เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วค่อยไปดำเนินการเรื่องเปลี่ยนแปลงที่อยู่ที่กรมสรรพากรที่สำนักของบริษัทคุณตั้งอยู่ภายหลังค่ะ ทราบมาว่ามีการแก้ไขกฏหมายหุ้นส่วนและบริษัทใหม่ ในเรื่อง การเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งเดิม ให้บอกกล่าวนัดประชุมเป็นหนังสือ ส่งให้แก่ผู้ถือหุ้น ไม่ทราบว่าพอจะอธิบายความแตกต่างได้ไหมค่ะ? ค่ะ เดิมวิธีการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น จะให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ สองคราว ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือ ส่งไปรษณีย์ไปยังผู้ถือหุ้น แต่กฏหมายที่แก้ไขใหม่จะให้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือพิมพ์ หนึ่งคราว ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และ ส่งไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ถือหุ้น จะเห็นได้ว่าวิธีการในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นในกฏหมายที่แก้ไขใหม่นั้น จะต้องทำทั้งสองอย่าง แต่กฏหมายเก่าเพียงแค่บอกกล่าวเป็นหนังสือส่งไปรษณีย์ก็เพียงพอแล้ว
>> ห้างหุ้นส่วน (Partnerships) |
ห้างหุ้นส่วน ตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า”อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น" ดังนั้นตามกฎหมายห้างหุ้นส่วนจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ 1. บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป จะนำทุนมาเข้าหุ้นกัน (ทุนที่จะนำมาลง ได้แก่ เงินสด ทรัพย์สินอย่างอื่น หรือ แรงงาน คือ ใช้กำลัง สติปัญญา ความคิดแรงกายแทน) 2. ตกลงเข้ากัน คือ บุคคลที่จะเข้าร่วมประกอบกิจการได้ทำสัญญาตกลงกันว่าจะประกอบการค้าร่วมกัน การตกลงกันนั้น จะต้องมีการแสดง เจตนาโดยแจ้งชัด อาจจะทำเป็นสัญญาปากเปล่า หรือ ลายลักษณ์อักษร ก็ได้ว่าจะเข้าเป็น "ห้างหุ้นส่วน" 3. เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกัน คือคู่สัญญา จะต้องมาดำเนินกิจการเพื่อทำการตามที่ได้ตกลงไว้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4. เพื่อประสงค์กำไร คือ เป็นการตกลงใจทำงาน โดยมีจุดหมายปลายทางเพื่อผลกำไร อันได้เกิดจากกิจการที่ทำนั้น และผลกำไรจะได้นำมาแบ่งกัน ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน ประเภทห้างหุ้นส่วน ห้างหุ้นส่วนบางออก เป็น 3 ประเภท - ห้างหุ้นส่วนสามัญ
- ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ คือ มีหุ้นส่วน สองคนขึ้นไป ผู้เป็นหุ้นส่วนจะอยู่ฐานะผู้จัดการ และทุกคนรับผิดชอบในหนี้สินไม่จำกัดจำนวน ตามกฎหมายเรียกว่า ผู้เป็นหุ้นส่วนสามัญ และเรียกผู้ที่รับผิดชอบการบริหารงานของห้างว่า”หุ้นส่วนผู้จัดการ" ข้อดีของห้างหุ้นส่วนสามัญ 1. การจัดตั้งกระทำได้ง่าย 2. มีการร่วมทุนและความรู้ความสามารถจากผู้เป็นหุ้นส่วน 3. สามารถขยายกิจการด้วยการเพิ่มทุนหรือรับหุ้นส่วนเพิ่มได้ ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนสามัญ 1. เมื่อห้างมีการขาดทุนและเลิกกิจการ ผู้เป็นหุ้นส่วนที่มีฐานะการเงินดีจะถูกเรียกร้องให้ชำระหนี้ของห้างทั้งหมดได้ 2. ความคล่องตัวและความเป็นอิสระ ในการบริหารงานลดลง 3. การเสียภาษี เป็นการเสียแบบบุคคลธรรมดา 4. ผู้เป็นหุ้นส่วนต้องรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ร่วมกันโดย เจ้าหนี้ อาจจะเรียกให้หุ้นส่วนคนใดชำระหนี้ให้จนครบจำนวนย่อมได้ 2. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล การประกอบการแบบห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล มีลักษณะเหมือนกับห้างหุ้นส่วนสามัญทุกประการ แต่มีข้อแตกต่างกัน คือการนำห้างหุ้นส่วนสามัญไปจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ มีผลให้ห้างหุ้นส่วนนั้นเป็นนิติบุคคล แยกต่างหากจากห้างหุ้นส่วน ข้อดีของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล 1. การเสียภาษีเป็นการเสียแบบนิติบุคคล 2. ได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกมากขึ้น เนื่องจากมีผู้สอบบัญชี 3. มีการร่วมลงทุนและความรู้ของหุ้นส่วน 4. เสียภาษี แบบนิติบุคคล 3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด การประกอบการในลักษณะนี้จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล และต้องใส่คำว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด" ไว้หน้าชื่อห้างเสมอไปด้วย โดยมีผู้เป็นหุ้นส่วน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป แบ่งหุ้นส่วนออกเป็น 2 ลักษณะคือ 1. ประเภทจำกัดความรับผิดชอบ จำกัดรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้น 2. ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ การไม่จำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ไม่จำกัดหนี้สินที่เกิดขึ้นกรณี ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกิจการตามกฎหมายให้สิทธิ์แก่เจ้าหนี้ ของกิจการมีสิทธิ์เรียกร้องให้นำทรัพย์สินส่วนตัวของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบในส่วนที่นอกเหนือจากเงินที่ลงทุนในกิจการ มาชำระหนี้จนครบ ข้อดีของห้างหุ้นส่วนจำกัด 1. รวบรวมเงินทุน ความรู้ความสามารถจากผู้เป็นหุ้นส่วนได้มากขึ้น 2. ผู้มีเงินทุนยินดีจะลงทุนร่วมด้วย โดยเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ทำให้พ้นภาระรับผิดชอบในหนี้สินแบบลูกหนี้ร่วม 3. สามารถจะระดมบุคคลที่มีความเชียวชาญในสาขาใด ๆ มาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้ 4. ได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกมากขึ้น 5. เสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนจำกัด 1. การจัดตั้งมีความยุ่งยากมากขึ้น 2. หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ต้องรับภาระหนี้สินไม่จำกัดจำนวน 3. เมื่อมีผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดตาย ล้มละลาย หรือลาออก ห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องเลิกกิจการและชำรบัญชีให้เรียบร้อย
>> ขอเครื่องหมายการค้า (Trademark) |
เครื่องหมายการค้าที่สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าหน้าที่ได้ต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้ 1.ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ 2.ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย 3.ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของผู้อื่น เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะเป็นคำหรือข้อความที่มิได้เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงและไม่เป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไว้ เช่น ชื่อประเทศ ชื่อรัฐ ชื่อเมืองหลวง หรือชื่อทางภูมิศาสตร์อื่นที่ประชาชนโดยทั่วไปรู้จักกันแพร่หลาย เช่น ภูเขา แม่น้ำ อำเภอ ตำบล เป็นต้น ดิฉันยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้แต่ถูกปฏิเสธไม่รับจดทะเบียน ดิฉันควรทำอย่างไรดีค่ะ ? คุณสามารถอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนที่ไม่รับจดทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ ภายใน 90 วัน โดยระยะเวลาจะนับตั่งแต่วันที่ได้รับหนังสือคำสั่งการพิจารณาของนายทะเบียนค่ะ ในการยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย ต้องใช้ตัวแทนหรือเปล่าครับ ? ถ้าคุณเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า คุณสามารถยื่นคำขอด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นแทนได้ค่ะ ในกรณีที่เจ้าของเครื่องหมายเป็นชาวต่างชาติ สามารถยื่นคำขอโดยผ่านตัวแทนผู้รับมอบอำนาจได้ค่ะ แต่อย่างไรก็ตามผู้ยื่นคำขอต้องยื่นคำขอเป็นภาษาไทยและต้องมีถิ่นที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ในประเทศไทยด้วยนะคะ เครื่องหมายประเภทใดบ้างคะ ที่ได้รับความคุ้มครองในประเทศไทย ? เครื่องหมายที่ได้รับความคุ้มครองในประเทศไทย มี 4 ประเภท คือ เครื่องหมายการค้า เครื่งหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และ เครื่องหมายร่วม ค่ะ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใช้ระยะเวลานานมั้ยค่ะ ? ใช้ระยะเวลาประมาณ 8 เดือนค่ะ ทั้งนี้ ผู้ขอจะต้องไม่ได้รับคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขใดๆหรือไม่มีการคัดค้านการจดทะเบียนด้วยนะคะ ดิฉันอยากทราบว่าในการยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จะต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไรคะ? การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า มีค่าธรรมเนียมแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนดังนี้ครับ ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอรายการสินค้า หรือ บริการ อย่างละ 500 บาท ค่าธรรมเนียมการรับจดทะเบียนรายการสินค้า หรือ บริการ อย่างละ 300 บาท
หลักเกณฑ์ในการขอจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ ผู้เริ่มก่อการจดทะเบียนมูลนิธิ - ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งมูลนิธิต้องมีอย่างน้อย 3 คน
- ชาวต่างชาติสามารถเป็นผู้เริ่มก่อการจัดตั้งมูลนิธิได้ แต่ต้องมีคนไทยอย่างน้อย 1 คนในการเป็นผู้เริ่มก่อการด้วย
- ผู้เริ่มก่อการจะเป็นคนเดียวกันกับคณะกรรมการมูลนิธิก็ได้
ทุนของมูลนิธิ - ต้องมีทุนจดทะบียนเป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 200,000 บาท ถ้าหากเป็นทรัพย์สินอย่างอื่น จะต้องเป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 100,000 บาท (ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อการสังเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา การศาสนา การกีฬา ค้นคว้าเรื่องยาเสพติด หรือก่อตั้งขึ้นโดยหน่วยงานรัฐบาล)
- หากมีวัตถุประสงค์ต่างจากนี้ต้องมีทุนจดทะเบียนเป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ถ้าหากเป็นทรัพย์สินอย่างอื่น จะต้องเป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 250,000 บาท
- ทรัพย์สินที่จะยกให้มูลนิธิเป็นทุนเริ่มแรก จะต้องเป็นทรัพย์สินไม่ติดภาระผูกพันและต้องเป็นของผู้บริจาคเท่านั้น
การดำเนินงานของมูลนิธิ - ต้องมีคณะกรรมการอย่างน้อย 3 คน
- คณะกรรมการต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี บริบูรณ์
- คณะกรรมการต้องกำหนดรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อนำส่งงบบัญชี และยื่นภาษี ภงด.55
การเลิกมูลนิธิ - ถ้ามูลนิธิต้องเลิกล้มไป ทรัพย์สินทั้งหมดของมูลนิธิที่เหลืออยู่ต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ นิติบุคลอื่นที่มีวัตถุประสงค์ตามมาตรา 110 เท่านั้น
ค่าธรรมเนียมในการจดมูลนิธิ - ค่าคำขอ 50 บาท
- ค่ายื่นคำขอจดทะเบียน ฉบับละ 200 บาท
หลักเกณฑ์ในการขอจดจัดตั้งสมาคม - ต้องมีผู้เริ่มก่อการ 3 คน และต้องมีข้าราชการตั้งแต่ระดับ 6 ขึ้นไปเป็นผู้รับรองประวัติ
- สมาชิกของสมาคมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. สมาชิกสามัญ 2. สมาชิกกิตติมศักดิ์
- สมาคมต้องระบุค่าลงทะเบียน และค่าบำรุงสมาคม เป็นรายเดือน หรือรายปี
- ในการสมัครสมาชิกของสมาคมนั้น ต้องมีสมาชิกสามัญรับรองจำนวน 1 คน
- ในการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิไม่จำเป็นต้องมีทุนจดทะเบียน
- ทุกปีต้องมีการยื่นงบการเงินให้นายทะเบียนทราบ
- หากต้องการตดทะเบียนเลิกสมาคมไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ทรัพย์สินของสมาคมที่เหลืออยู่หลังจากชำระบัญชีเรียบร้อยแล้ว ต้องมอบให้แก่ นิติบุคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์เท่านั้น
คำถาม 1. ในการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ กับสมาคมใช้ระยะเวลาเท่าไรค่ะ ตอบ หากผู้เริ่มก่อการทั้งหมดเป็นคนไทยก็ใช้ระยะเวลา 3 เดือน แต่หากมีผู้เริ่มก่อการเป็นชาวต่างชาติใช้ระยะเวลา 6 เดือน– 1ปี ค่ะ 2. ในการจดทะเบียนมูลนิธิ กับสมาคม ต่างกันตรงไหนครับ ตอบ 1. ในการจดทะเบียนมูลนิธิไม่ต้องมีข้าราชการระดับ ซี 6 เป็ นผู้รับรองประวัติ 2. การจดจัดตั้งสมาคมไม่กำหนดทุนในการจดทะเบียน 3. เรื่องการแบ่งประเภทของสมาชิกและค่าบำรุงสมาคม 3. หากเรามีมูลนิธิที่ต่างประเทศแล้วต้องการจดทะเบียนสาขาที่ประเทศไทยได้ไหมครับ ตอบ ได้ค่ะ แต่ต้องยื่นขอจดทะเบียนสาขาในต่างประเทศ ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ และต้องทำตามภายใต้กฏหมายต่างประเทศ
Tag: ทนายเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, ทนายประชาชน, สำนักงานทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่, สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่, ทนายเชียงใหม่เก่งๆ, ปรึกษาทนายเชียงใหม่, ทนายอาสาเชียงใหม่, สภาทนายเชียงใหม่, ทนายความเชียงใหม่มืออาชีพ, ทนายความเชียงใหม่ช่วยเหลือ SME และ START UP, ทนายเชียงใหม่ความมุ่งมั่น, ทนายความเชียงใหม่คลายทุกข์, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่มุ่งมั่นช่วยเหลือประชาชน, สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่คลายทุกข์
#สำนักงานทนายเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายในจังหวัดเชียงใหม่ #สำนักงานกฎหมายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่เก่งๆ #ปรึกษาทนายเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่ #ทนายอาสาเชียงใหม่ #สภาทนายเชียงใหม่ #ทนายความเชียงใหม่


Share on Facebook
|